5/23/2554

ข้าวเกรียบปากหม้อ

การทำข้าวเกรียบปากหม้อ ซึ่งเป็นของว่างของไทย ทีมีมาแต่โบราณ ทุกวันนี้เจ้าอร่อยๆ หากินยากแล้ว เป็นอาชีพที่น่าสนใจบางเจ้าทำแทบไม่ทัน บางครั้งอาจจะมีหน่วยงานต่างๆ สั่งทำทีละมาก ๆ ซึ่งบางครั้ง ทำไม่ทันกันเลยทีเดียว
แต่ต้องประมาณกำลังตัวเองไม่งั้นของจะไม่มีคุณภาพเสียชื่อ เสียลูกค้าได้ เช่นกัน อุปกรณ์ ที่ใช้ขายก้ไม่มาก ลงทุนไม่สูง โต๊ะ 1-2 ตัว ร่ม 1 คัน กลายเป็นร้านมีหลังคาแน่นหนา ละเลงแป้งลงบนผ้าที่ขึงบนปากหม้อเป็นผ้าโทเรและต้องขึงให้ตึง หม้อที่ใช้เป็นหม้อดินต้มน้ำให้เดือดไอน้ำเป็นตัวทำให้แป้งสุก เริ่มต้นง่ายๆรายได้งามๆ จากอาชีพที่คิดว่าจะลองทำเล่น ๆ เมื่อว่างจาก อาจจะกลายเป็นอาชีพหลักไปเลยทีเดียว เพราะข้าวเกรียบปากหม้อขายง่าย ข้าวเกรียบปากหม้อมีทั้งไส้แบบสาคูไส้หมู (ทั่วๆไป)กับแบบไส้ผัก (เหมือนขนมกุยช่าย)ทั้งสองแบบใช้ไส้เหมือนกัน แต่ไส้ผักมีน้ำจิ้มเหมือนที่ก็นกับขนมกุยช่ายเราลองมาดูซิว่า สูตรข้าวเกรียบปากหม้อวันนี้ มีอะไรกันบ้าง


ข้าวเกรียบปากหม้อ

ขอบคุณภาพจากayishere.com

ข้าวเกรียบปากหม้อไสัหวาน
มีส่วผสมดังนี้
หัวผักกาดเค็ม (หัวไชโป๊ว) สับ 3 กิโลกรัม
หอมแดง 1/2 กิโลกรัม
น้ำตาลปี๊บ 3 กิโลกรัม
ถั่วลิสง 3 กิโลกรัม
รากผักชี 2๐ ราก
น้ำมันพืช 1/2 ลิตร่

วิธีการทำ
1. หัวผักกาดเค็มให้ซื้อแบบที่สับมาแล้วเพราะจะได้ไม่เสียเวลามานั่งสับเอง สับเองจะใช้เวลามากใช้
ถั่วลิสงต้องซื้อมาคัดเอง เอาเปลือกออก ยอมเลยเวลาหน่อย จะได้ถั่วทีใหม่ หอม และอร่อยกว่า เพราะถั่วที่ซื้อตามร้านบดมา
แล้วเป็นถั่วเก่าอาจจะคั่วทิ้งไว้เป็นเดือนแล้วก็ได้ ทีสำคัญถั่วเก่ามีสารก่อมะเร็ง ไม่อร่อยแถมยังอันตรายอีก
2.นำกระทะขึ้นตั้งไฟปานกลาง ใส่น้ำมันเจียวหอมแดงที่หั่นกับรากผักชีตำละเอียด ผัดให้เหลือง ตามด้วยหัวผักกาดเค็ม น้ำตาลปี๊บ ใช้เวลาเคี่ยวนาน 3-4 ชั่วโมง รอจนน้ำตาลละลายและเคี่ยวจนแห้ง
ลองชิมรส เพราะหัวผักกาดเค็ม จะมีรสไม่มาตรฐาน หวาน เค็ม ไม่เท่ากันในแต่ละถุง ไส้ผัดทิ้งไว้ 1 คืน ก่อนนำออกขาย
เพราะหัวผักกาดเค็มจะนุ่มกว่าที่จัดเสร็จใหม่ ๆ ถั่วลิสงที่คั่วไว้นำมาบุบไม่ต้องละเอียด ก่อนออกขายจึงผสม หากผสมทิ้งไว้จะทำให้ถั่วชื้นและเหนียว ไส้หวานต้องกิน
กับผักชี ผักกาดหอม พริกขี้หนู ระหว่างที่จัดเรียงใส่ถาดโรยด้วยกระเทียมเจียวที่ไม่มีน้ำมันจะหอมอร่อย ถ้ากลัว
ขนมจะติดกันเป็นพรืด เมื่อแคะขึ้พาให้แช่ในน้ำมันพืชสักครู่ แล้วนำมาวางพาชนะที่มีร่อง เพื่อให้สะเด็ดน้ำมันสะเด็ด

ข้าวเกรียบปากหม้อไส้ผัก
ส่วนผสม
หมูสับ 500 กรัม
ผักกุยช่าย 2 กิโลกรัม
กระเทียมสับละเอียด 500 กรัม
เกลือป่น 1/2 ช้อนโต๊ะ
น้ำตาลทราย 2 ช้อนโต๊ะ

วธีทำ
1.นำหมูลงผัดในกระทะ หลังเจียวกระเทียมจนเหลือง จากนั้นใส่ผักที่หั่นท่อน ประมาณครึ่งเซนติเมตร
2.ปรุงรสด้วยเกลือ น้ำตาล ที่ใส่เกลือแทนน้ำปลาเพราะน้ำปลาจะทำให้ผ้าแดงดูไม่น่ากิน และ
เกลือมีรสชาติดีกว่า ไส้ผักจะผัดวันตอวัน ผัดตอนเช้ามืดก่อนออกขาย หากผัดค้างคืนผักจะไม่หวาน และอาจเสีย

ส่วนน้ำจิ้มมีส่วนผสมดังนี้
ซีอิ๊วเค็ม ครึ่งขวด(ขนาด 20 ลูกบาศก์เซนติเมตร)
น้ำตาลทราย 500 กรัม
น้ำส้มสายชู 2/3ขวด (ขนาด 240 มิลลิลิตร)

น้ำจิ้มที่ผสมต้องชิมรสก่อน พริกที่ใช้มีทั้งพริกชี้ฟ้าและพริกขี้หนูสวน หากต้องการเผ็ดมากให้เพี่มพริกให้
มากขึ้น นอกจากนี้ ยังต้องมีผักเป็นเครื่องเคียง คือถั่วงอก ไม่ต้องนำไปลวกเพียงแต่วางบนปากหม้อแล้วใช้ฝา
ครอบ ประมาณ ครึ่งนาที จะได้ถั่วงอกที่สุกและกรอบพอ

ส่วนตัวแป้ง แป้งทีละลายบนปากหม้อ มีส่วนผสมง่าย ๆ

ส่วนผสมตัวแป้งข้าวเกรียบปากหม้อ

1.แป้งข้าวเจ้าต่อแป้งมันสำปะหลังต่อน้ำ ในอัตรา 1:1 เมื่อละเลงบนปากหม้อต้องมีฝาครอบ หากไม่มีฝาครอบแป้งจะด้านใช้ไม่ได้ เวลาที่ใช้จะเป็นเวลาที่พอดีกันทั้งสองหม้อ
คือ แคะหม้อหนึ่งพร้อมละเลงแป้ง จะเป็นเวลาพอดีที่แป้้งของอีกหม้อหนึงใช้ได้ ฉะนั้น 2 หม้อ จะใช้ฝากครอบอันเดียว
หม้อที่ใช้เป็นหม้อดิน ต้มน้ำให้เดือด ไอน้ำเป็นตัวทำให้แป้งสุก ส่วนผ้าที่ขึงบนปากหม้อเป็นผ้าโทเร (ผ้าทีใช้ตัดเสื้อนักเรียน) และต้องขึงให้ตึง

ขนมจะน่ากินหรือไม่ ขั้นตอนการจัดวางมีส่วนอยู่มาก เหมือนกับข้าวกับปลาหากมีผักชีโรยหน้าจะดูดีกว่า
โล้น ๆ ข้าวเกรียบปากหม้อก็เช่นกัน ไส้หวานให้โรยด้วยกระเทียมเจียว แต่งหน้าด้วยผักชี ผักกาดหอม และพริก ส่วนไส้ผักให้ใช้ถั่วงอกบนถาดทับด้วยตัว
ปิดถาดด้วยพลาสติกใสป้องกันฝุ่นและดูน่ากิน

ราคาของขนมเท่ากันทั้งสองชนิดกล่องล่ะ 20-25 บาทขาดตัว ไส้หวานมี 10 ชิ้น ส่วนไส้ผัก 8 ชิ้นต่อกล่อง เพราะมีขนาดตัวใหญ่
กว่า ลูกค้าส่วนมากเป็นผู้ขับรถที่ผ่านไปมา คนละแวกนั้น และพวกข้าราชการในหน่วยราชการทีอยู่ไม่ไกล เช่น
ครูตามโรงเรียน ข้าราชการอำเภอ นักเรียน พนักงานออฟฟิศ และคนทั่วๆไป กินได้ทุกคน